ข้อมูลประกอบการจัดทำข่าว

Want create site? Find Free WordPress Themes and plugins.

การยกระดับการให้บริการในยุค สมอ. 4.0

 

  • การนำระบบ E-license มาใช้ในการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการ

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการออกใบอนุญาต  (E-license) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ตามนโยบาย Ease of Doing Business ของรัฐบาล

สมอ. มีภารกิจหลักที่สำคัญคือการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการออกใบอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ซึ่งดำเนินภารกิจตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511  ซึ่งได้ดำเนินการออกใบอนุญาตมาเป็นเวลาเกือบ 50 ปี มีผู้รับใบอนุญาตรวม 12,000 ราย ใบอนุญาต 86,000 ฉบับ โดยในช่วงปี พ.ศ.2557-2560 ได้ออกใบอนุญาตเฉลี่ยปีละ 7,000 ฉบับ ประกอบกับพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการออกใบอนุญาตของราชการ  ที่กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตให้กับผู้รับบริการด้วยความรวดเร็วและโปร่งใส ดังนั้น สมอ. จึงได้มีการปรับปรุงกระบวนการออกใบอนุญาตใหม่ เป็นผลให้ลดระยะเวลาในการให้บริการจาก 46 วันทำการเหลือ 15 วันทำการ และเพื่อให้สามารถลดระยะเวลาในการให้บริการ สมอ. จึงได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการออกใบอนุญาต (E-license) เพื่ออำนวยความสะดวก และลดระยะเวลาในการออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะเปิดบริการรับคำขอรับใบอนุญาต ผ่านระบบ E-license ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • (1) ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกในการยื่นคำขอรับใบอนุญาต โดยการยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • (2) ผู้ประกอบการสามารถติดตามความคืบหน้าการดำเนินการพิจารณาอนุญาตของ สมอ.ได้
  • (3) ผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตด้วยความรวดเร็ว และโปร่งใส

สมอ.มีแผนงานในการสร้างความรับรู้ E-license ดังนี้

  •  (1) จัดสัมมนาผู้ประกอบการเพื่อทำความเข้าใจในระบบ E-license ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ –มีนาคม 2561
  •  (2) จัดทำเป็น clip อธิบายระบบ E-license เผยแพร่ใน web site สมอ.

การปรับปรุงกระบวนการรับรอง มผช. สู่ยุค 4.0

  •  สมอ. ดำเนินงานโครงการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ โดยมีกิจกรรมด้านการมาตรฐานที่สำคัญ ๔ ด้าน คือ การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน การตรวจติดตามผล และการพัฒนาด้านการมาตรฐาน และ สมอ. ได้บูรณาการการดำเนินงานรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) มาเป็นลำดับปี ๒๕๔๙  สมอ. ได้ถ่ายโอนงานการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้กับ สอจ. จำนวน ๒๐ จังหวัด ดำเนินการเป็นหน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับจังหวัดปี ๒๕๖๐ ถ่ายโอนงานหน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับจังหวัดให้กับ สอจ. จำนวน ๕๖ จังหวัดที่เหลือซึ่งส่งผลให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้ผลิตชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการยกระดับการบริการภาครัฐ ระยะที่ ๒ ตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘  สมอ. ได้ปรับปรุงกระบวนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ โดยปรับลดระยะเวลาในการดำเนินการจากเดิม ๗๓ วันทำการ เหลือเพียง ๔๙ วันทำการ โดยผู้ผลิตชุมชนจะได้รับคำแนะนำด้านการจัดการคุณภาพเบื้องต้น บริการการตรวจประเมินศักยภาพผู้ประกอบการ และความพร้อมของตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชน ก่อนยื่นคำขอรับการรับรอง มผช. โดย สมอ. จะเริ่มดำเนินการให้การรับรอง มผช. ตามกระบวนการใหม่ ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๑ เฉพาะผู้ประกอบการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจะให้การรับรอง มผช. ตามกระบวนการใหม่แก่ผู้ประกอบการชุมชนโดย สอจ. ที่เป็นหน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด ภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๑
  • การตรวจติดตามและการกำกับดูแลสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2560)
  • ตรวจติดตามผลโรงงาน จำนวน 490 ราย 494 มอก.ตรวจควบคุมสถานที่จำหน่าย 1) ตรวจร้านจำหน่าย จำนวน 16 ร้าน 26 มอก.2) ยึดอายัดผลิตภัณฑ์ มูลค่า 660.8603 ล้านบาท ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้- กลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็ก มูลค่า 643.0046 ล้านบาท (เช่น เหล็กกล้าคาร์บอนรีดร้อนแผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นหนา และแผ่นบาง สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป, เหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดร้อน ,เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ,เหล็กลวดคาร์บอนต่ำ)- กลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 15.2394 ล้านบาท (เช่น พัดลมไฟฟ้ากระแสสลับ, ผลิตภัณฑ์บริภัณฑ์ส่องสว่าง, เตาย่าง เตาปิ้ง, ผลิตภัณฑ์เคเบิลเส้นใยนำแสง)- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร มูลค่า 2.5876 ล้านบาท (สับปะรดกระป๋อง)

    – กลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่า 0.0029 ล้านบาท (หัวนมยางสำหรับขวดนม)

การดำเนินงานตามนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

  • ความคืบหน้าระบบมาตรฐานเพื่อการส่งเสริม SMEs (มอก.S)

ภายใต้โครงการ “SME STANDard UP” ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้

  1. ศูนย์ข้อมูลด้านการมาตรฐาน สำหรับ SMEs

ปัจจุบันผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมาก เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพแต่ยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ทำให้สูญเสียโอกาสในการแข่งขันและไม่สามารถผลิตสินค้าในเชิงพาณิชย์ออกสู่ตลาดได้  สมอ. จึงได้จัดทำโครงการ “SME STANDard UP” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาและจัดทำข้อมูลด้านการมาตรฐานสำหรับ SMEs เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs นำมาใช้พัฒนาขีดความสามารถให้ผลิตสินค้าได้ตรงกับความต้องการของตลาด

        “ศูนย์ข้อมูลด้านการมาตรฐาน สำหรับ SMEs” จะทำหน้าที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลมาตรฐานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศต้องการ รวมถึงรายชื่อหน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานดังกล่าวได้  เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านการมาตรฐานสำหรับ SMEs และหากสินค้าใดยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานไว้ สมอ. จะใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. S) เป็นตัวขับเคลื่อน

  1. มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. S)

สมอ. ได้จัดทำมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก. S) เพื่อเป็นการยกระดับขีดความ สามารถ SMEs ด้วยมาตรฐานที่เหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย โดยการสร้างระบบการมาตรฐานเฉพาะ เริ่มต้นจากการนำข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และ/หรือมาตรฐานระหว่างประเทศ มาพิจารณากำหนดปรับปรุงให้เหมาะสมกับธุรกิจ SMEs / Startup ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และที่สำคัญตรงความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ  หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการตรวจสอบและรับรอง ซึ่ง มอก. S จะมีขั้นตอนการดำเนินงานที่มีความคล่องตัวและเหมาะสมกับ SMEs

ผู้ที่ได้รับการรับรอง มอก. S ยังได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs เข้าสู่ยุค 4.0 เช่น SME coupon, B2B (Business to Business), B2C (Business to Consumer), เงินทุนประกอบการจาก SME Bank และอยู่ในคัดสรรสุดยอด 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และยังเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายในงานของรัฐ เช่น Gift fair, Industry expo, ร้านค้า มอก., หมู่บ้าน CIV (Creative Industry Village), ร้านประชารัฐ เนื่องด้วย มอก. S เป็นมาตรฐานที่กำหนดมาจากความต้องการของผู้ใช้และผู้ซื้อ ตัวอย่างเช่น มอก. S ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนสำหรับโรงแรมและที่พักสาธารณะ โดยจะสอบถามความต้องการจากผู้ใช้และฝ่ายจัดซื้อของธุรกิจโรงแรม เพื่อกำหนดมาตรฐานผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน ที่มีคุณสมบัติเป็นที่ต้องการ จะทำให้ SMEs/ Startup อยู่ได้อย่างยั่งยืน

มอก. S  ได้เริ่มโครงการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ขณะนี้กำลังจัดทำมาตรฐาน 20 มาตรฐานแรก ได้แก่ แชมพู สบู่ก้อน สบู่เหลว ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์ล้างหน้า แป้งน้ำ แป้งฝุ่น ลิปสติก ผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดเหลว ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน ผ้าปูโต๊ะและผ้าใช้บนโต๊ะอาหาร ผ้าคลุมเตียงสำหรับโรงแรม ผ้าห่ม ผ้าขนหนู เสื้อกีฬา เสื้อฮาวายลายดอก เสื้อเชิ้ตที่ระลึก เครื่องเงิน ดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุแปรรูป (รายละเอียดดังเอกสารแนบ 1) โดยจะทำการ Kick off ในปลายเดือนมกราคมนี้ และคาดว่าจะออกใบรับรองฉบับแรกได้ในเดือนมีนาคม

  • แผนการกำหนดมาตรฐานตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve)

 

ลำดับ

กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

แผน

ผล (สถานะการดำเนินงาน)

อยู่ระหว่างดำเนินการ

รอประกาศ

อุตสาหกรรมเดิม (S-Curve)      
1 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 23 18 5
2 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 10 0 10
3 อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 35 28 7
อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)      
4 หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 30 30 0
5 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 17 11 6
6 อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 2 0 2
7 อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 40 30 10

รวม

157 117

40

 

  • การส่งเสริมอุตสาหกรรมยางและการผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยาง เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO)

การกำหนดมาตรฐาน

สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและประกาศใช้แล้วจำนวน 163 มาตรฐาน

ปรับมาตรฐาน สาขาผลิตภัณฑ์ยางให้สอดคล้องกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน จำนวน 57 มาตรฐาน

ปี 2561 สมอ. มีแผนการกำหนดมาตรฐานยางและผลิตภัณฑ์ยางและปรับปรุงมาตรฐานที่ประกาศแล้วให้ทันสมัย จำนวน 10 มาตรฐาน ได้แก่

  • 1) ถุงมือยางที่ใช้ในงานบ้าน
  • 2) เส้นด้ายยาง
  • 3) ฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน
  • 4) ฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำที่นอน
  • 5) แผ่นยางปูสนามเด็กเล่น
  • 6) หุ่นยางสำหรับฝึก CPR
  • 7) แผ่นยางรองส้นเท้า
  • 8) แผ่นรองสะโพกป้องกันกระแทก
  • 9) ยางรัดเอวประคองหลัง
  • 10) เบาะรองนั่งบรรจุลม

การกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ

ปี 2559 สมอ. ได้ผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ 2 มาตรฐาน ได้แก่ 1) มอก. 886-2559 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางรัดของ      2) มอก. 2584-2556 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นยางปูคอกสัตว์

ปี 2560 สมอ.ได้ผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศเพิ่มเติมอีก 2 มาตรฐาน ได้แก่ มอก. 2476-2552 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถุงมือยางที่ใช้ในงานบ้าน และ มอก. 2556-2554 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเส้นด้ายยาง เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 20057 : 2017 Rubber Household Gloves และ ISO 20058 : 2018 General Purpose Rubber Thread ตามลำดับ

การพัฒนาผู้ประกอบการ

สมอ. ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และสหกรณ์ ในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเตรียมความพร้อมของโรงงานในการยื่นคำขอการรับรอง มอก. ดังนี้

ปี 2559

ได้ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูล จำกัด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาผู้ประกอบการยางในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีความตื่นตัวในการขอการรับรอง มอก. กันมากขึ้น ขณะนี้ ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูล จำกัด ได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมาย มอก. 2377-2551 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นยางปูพื้นแล้ว

ปี 2560

มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 6 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นขอ มอก. ดังนี้

  • 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาน้ำยางสดบ้านถ้ำทะลุ  อยู่ระหว่างการยื่นคำขอ มอก. 2739-2559 ผลิตภัณฑ์แผ่นยางปูพื้นสนามฟุตซอล
  • 2) วิสาหกิจชุมชนพัฒนาและแปรรูปน้ำยางตาชี อยู่ระหว่างเตรียมยื่นคำขอ มอก. 2739-2559 ผลิตภัณฑ์แผ่นยางปูพื้นสนามฟุตซอล
  • 3) สหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นคำขอ มอก. 2741-2559 ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน
  • 4) สหกรณ์กองทุนสวนยางอุไดเจริญ 1 จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นคำขอ มอก. 2741-2559 ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน
  • 5) สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก อยู่ระหว่างการยื่นคำขอ มอก. 2741-2559 ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำลาเท็กซ์สำหรับทำหมอน
  • 6) บริษัท อุตสาหกรรมยางไทยหยก จำกัด อยู่ระหว่างการยื่นคำขอ มอก. 2476-2552 ผลิตภัณฑ์ถุงมือยางสำหรับใช้ในบ้าน

    ปี 2561

สมอ. มีแผนการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางจำนวน 8 ราย ได้แก่

  • 1) บริษัท อินโนวา รับเบอร์ จำกัด
  • 2) วิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา อ.วังจันทร์ จ.ระยอง
  • 3) วิสาหกิจชุมชนบ้านเนินสว่าง
  • 4) บริษัท ไทยเหวยยี่ การ์เมนท์ แอนด์ วีฟวิ้ง จำกัด
  • 5) วิสาหกิจชุมชนหนองราโพลาเท็กซ์
  • 6) นายมุจรินทร์ ทองคำแท้
  • 7) สหกรณ์ยางพาราเนินดินแดงตราด จำกัด
  • 8) สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จำกัด

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

สมอ. ได้ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของ สมอ. เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพาราอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

1.) ดำเนินการจัดทำข่าวแจกเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน

2.) เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ของ สมอ. ได้แก่

– Facebook : tisiofficial

– Website : www.tisi.go.th และ pr.tisi.go.th.

– สมอ สาร ออนไลน์

  • มาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ความเป็นมา

การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ของประเทศไทยมีมูลค่ากว่า ๑๕๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ซึ่งมีทั้งเฟอร์นิเจอร์ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ โดยส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากไม้โตเร็วและไม้เศรษฐกิจอื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถินยักษ์ กระถินเทพา ไม้สน และไม้จำพวกไผ่ รวมไปถึงไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ตัดฟันเมื่อพ้นกำหนดการให้ผลผลิตน้ำยาง ซึ่งสร้างรายได้จากเนื้อไม้เป็นจำนวนมาก ทั้งการทำไม้แปรรูปเพื่อผลิตเฟอร์นิเจอร์หรือไม้พลังงาน ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการปลูกไม้เพื่อใช้สอย เพื่อเป็นอาชีพ ถือเป็นหนทางที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่และยั่งยืน การส่งเสริมให้มีการปลูกไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ถูกกฎหมาย ไม่กระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นข้อกำหนดของนานาชาติที่ต้องปฏิบัติตาม การปฏิเสธผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาและไม่มีการจัดการอย่างยั่งยืน ถือเป็นมาตรการที่ประเทศพัฒนาแล้วกำหนดให้ผู้ซื้อและผู้ค้าผลิตภัณฑ์จากไม้ต้องปฏิบัติ นั่นคือ ไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ที่มีการส่งออกนั้น จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 หน่วยงาน ได้แก่ Program for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) และ Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (Sustainable Forest Management) นอกจากนี้ สหภาพยุโรปได้มีมาตรการเฟล็กที (FLEGT)  หรือ Forest Law Enforcement, Governance and Trade คือ การบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาลและการค้า เพื่อลดปัญหาการทำไม้และการค้าผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมาย แผนปฏิบัติการเฟล็กทีมีสาระสำคัญ คือ การห้ามจำหน่ายหรือนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ผิดกฎหมายเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป และการกำหนดให้ผู้ค้าผลิตภัณฑ์ไม้ในตลาดสหภาพยุโรปตรวจสอบและประเมินบริษัทคู่ค้า รวมทั้งเก็บบันทึกรายชื่อผู้จัดหา/ผู้จัดซื้อจัดจ้าง และรายชื่อลูกค้าทั้งหมดเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ

เดือนธันวาคม ๒๕๕๗ ตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าหารือ สมอ. เกี่ยวกับปัญหาการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ ซึ่งต้องมีการรับรองไม้จากการปลูกที่ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยในปัจจุบันได้ขอการรับรองจาก FSC ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและมาตรฐานที่ใช้ในการรับรองไม่เหมาะสมกับบริบทการปลูกสวนป่าในประเทศไทย ผู้ปลูกรายย่อยไม่สามารถดำเนินการตามมาตรฐานและขอรับการรับรองได้ เนื่องจากมาตรฐานของ FSC เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยกลุ่มในประเทศยุโรป แต่ให้ใช้รับรองกับทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ และการปลูกต้นไม้ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้กระบวนการตรวจรับรองส่วนมากใช้ผู้ตรวจประเมินจากต่างประเทศซึ่งขาดความเข้าใจในกฎหมายและบริบทของประเทศไทย

จากที่มาดังกล่าวข้างต้น การสร้างและพัฒนา Platform กลไกด้านการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน เพื่อให้สามารถรับรองแหล่งที่มาซึ่งต้องมีการจัดการอย่างยั่งยืน และการรับรองผลิตภัณฑ์ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มา เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ  โดยกระบวนการรับรองดังกล่าวต้องมีความเหมาะสมกับประเทศไทยและได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงเป็นภารกิจที่ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ได้ตามเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า และเป็นการส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ในพื้นที่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ลดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ มีการใช้มาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างถูกต้องและเหมาะสม การปฏิบัติตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ก่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

การดำเนินการของ สมอ.

เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สมอ. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุม เพื่อหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวทางและบทบาทของแต่ละหน่วยงาน โดยการหารือมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานและกระบวนการรับรองระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยที่ประชุมมีข้อคิดเห็นและประเด็นที่ร่วมกันพิจารณา คือ

  • แนวทางการรับรองของหน่วยงาน PEFC ซึ่งให้แต่ละประเทศสามารถจัดทำมาตรฐานขึ้นเองเพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศและใช้กระบวนการรับรองของประเทศ โดยให้เป็นไปตามหลักการและขั้นตอนของ PEFC เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากล โดยในแต่ละประเทศต้องมีหน่วยงานที่เรียกว่า National Governance Body (NGB) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ PEFC ในประเทศ
  • ความจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยสามารถทำได้เป็นการยกระดับเพื่อเตรียมความพร้อม และการผลักดันให้มีหน่วยรับรองที่ค่าใช้จ่ายในการรับรองไม่สูงเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยมีกำลังที่สามารถเข้าสู่ระบบการรับรองได้
  • บทบาทของกรมป่าไม้ในฐานะที่เป็นภาครัฐและควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้กับผู้ประกอบการ ซึ่งอาจดำเนินการเอง หรือสนับสนุนงบประมาณต่างๆ และมีหน่วยงานช่วยดำเนินการ เช่น องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ได้รับการแต่งตั้งขึ้นภายใต้คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศไทยและขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมโดยทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ซึ่งมี ๓ ประเด็นหลัก ได้แก่

  • พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนให้เป็นไปตามหลักสากล เพื่อเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนของประเทศและทั่วโลก โดยมีเป้าหมายจัดทำมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และมาตรฐานการควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เพื่อใช้สำหรับการรับรอง
  • ดำเนินการให้มีการรับรองในสาขาการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในประเทศ
  • สนับสนุนและส่งเสริมวิจัย พัฒนา ระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

จากแผนยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลนั้นจำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญด้วยกัน ๓ ส่วนคือ (๑) การกำหนดมาตรฐาน  (๒) การรับรอง (Certification) และ (๓) การรับรองระบบงาน (Accreditation)  นอกจากองค์ประกอบทั้งสามนี้แล้ว สำหรับ Scheme ของ PEFC จะต้องมีการตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า National Governing Body (NGB) ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ PEFC ในแต่ละประเทศ โดยในประเทศไทย สมอ. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและการรับรองระบบงานอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้โครงสร้างครบจึงต้องมีการผลักดันให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น NGB ซึ่งในที่สุดได้มีการจัดตั้งสำนักงานรับรองไม้เศรษฐกิจไทย ภายใต้สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว และนอกจากนี้แล้วต้องมีการพัฒนาหน่วยรับรอง (Certification Body) เพื่อทำหน้าที่ให้การรับรองผู้ประกอบการในสาขาการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยในประเทศไทยจะมีโครงสร้างของระบบการรับรองในสาขาการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในดังแสดงในภาพที่ ๑

ภาพที่ ๑ โครงสร้างของของระบบการรับรองที่เป็นระบบ Third party ในการรับรองและได้รับการยอมรับในระดับสากลผ่านการ Endorsement จาก PEFC

 

ผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การมาตรฐาน การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน มีดังนี้

กิจกรรมหลัก

หน่วยงานรับผิดชอบ

ผลการดำเนินการ

๑.   การจัดทำมาตรฐานการจัดการป่าไม้และมาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานนั้นให้ความสำคัญกับไม้เศรษฐกิจ ทั้งประเภทไม้โตเร็วและไม้ที่โตช้าซึ่งให้ผลผลิตเป็นเนื้อไม้เป็นหลัก โดยยึดหลักทางวิชาการของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และคำนึงถึงผลกระทบใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ, สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรม (สมอ.)

๑.   จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.๑๔๐๖๑ เล่ม ๑ -๒๕๕๙ การจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เล่ม ๑ ข้อกำหนด ประกาศวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๙

๒.   จัดทำมาตรฐานห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ (Chain of Custody, CoC) ,มอก.๒๘๖๑ -๒๕๖๐ อยู่ระหว่างการเสนอรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมลงนาม

๒.   การขยายสาขาการรับรองด้านการจัดการป่าไม้และห่วงโซ่การควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ของหน่วยรับรองระบบงาน(AB) เนื่องจากเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการรับรองที่น่าเชื่อถือ และเป็นหน่วยงานภายในประเทศที่มีอยู่แล้ว ภายใต้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

สมอ.

๑.   ประกาศสาขาการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

๒.   จัดทำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองระบบงานหน่วยรับรองระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนภายในเมษายน พ.ศ.๒๕๖๑

 

๓.   จัดทำหลักสูตรสำหรับผู้ตรวจประเมินและผู้เชี่ยวชาญภายในเมษายน พ.ศ.๒๕๖๑

๔.   ให้การรับรองระบบงานหน่วยรับรองระบบการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนได้ภายในปี พ.ศ.๒๕๖๑

๓.   การสร้างหน่วยงาน National Governing Body สำหรับการรับรองตาม PEFC

โดยจะเป็นผู้รับผิดชอบในสาขาการรับรองไม้เศรษฐกิจในประเทศไทย(Thailand Forest Certification Scheme) ซึ่งเป็นผู้กำหนดรูปแบบและกรอบกติกาของการรับรอง

สำนักงานรับรองไม้เศรษฐกิจไทยภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (TFCC)

๑.   สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสำนักงานการรับรองไม้เศรษฐกิจไทย (TFCC) รับผิดชอบเป็นหน่วยงานหลักที่จะทำหน้าที่เป็น NGB เพื่อให้สามารถรับรองระบบการจัดการป่าไม้ตาม PEFC ได้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่เป็นที่ยอมรับในระหว่างประเทศขณะนี้ได้สมัครเป็น NGB เรียบร้อยแล้วในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๙

๒.   ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมการยื่นขอ Endorsement จาก PEFC โดยมีแผนส่งเอกสารภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๑

๔.   การสร้างและส่งเสริมหน่วยตรวจรับรอง (CB) เนื่องจากหน่วยรับรองและผู้ตรวจประเมินด้านป่าไม้ในประเทศไทยมีค่อนข้างจำกัดและรูปแบบการรับรองการจัดการป่าไม้ของประเทศพึ่งเริ่มดำเนินการ จำเป็นต้องสร้างองค์ประกอบในด้านหน่วยตรวจประเมินให้พร้อมในการรองรับสำหรับการรับรอง

สำนักงานรับรองไม้เศรษฐกิจไทย

 

อยู่ระหว่างการทำโครงการนำร่องเพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ตรวจประเมินได้ทดลองปฏิบัติและตรวจประเมิน รวมถึงตรวจรับรองระบบงาน ตามมาตรฐานที่ได้จัดทำขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในการปรับปรุงมาตรฐาน การจัดทำคู่มือ
๕.   การส่งเสริมการรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้ของไทย การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ เพื่อให้กิจกรรมการรับรองดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและการรับรองป่าไม้ของประเทศไทยเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

 

สำนักงานรับรองไม้เศรษฐกิจไทย

 

อยู่ระหว่างการทำโครงการนำร่องเพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ตรวจประเมินได้ทดลองปฏิบัติและตรวจประเมิน รวมถึงตรวจรับรองระบบงาน ตามมาตรฐานที่ได้จัดทำขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในการปรับปรุงมาตรฐาน การจัดทำ
๖.   การพัฒนาสื่อและคู่มือต่างๆสำหรับมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน (SFM) และมาตรฐานการควบคุมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ (CoC) ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

สำนักงานรับรองไม้เศรษฐกิจไทย

สมอ.

อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลจาการทำโครงการนำร่องเพื่อนำมาใช้ในการจัดทำคู่มือ

 

การดำเนินการสำหรับไม้ยางพารา

สำหรับกลไกการรับรองไม้ยางพาราในประเทศไทย สามารถใช้แนวทางและโครงสร้างการรับรองที่มีการจัดเตรียมไว้แล้ว ซึ่งเป็นกลไกการรับรองที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ทั้งนี้ต้องมีการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานในการทำหน้าที่ตามกลไกการรับรอง ได้แก่

๑) หน่วยรับรอง (Certification Body)  ซึ่งมีข้อเสนอให้เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การยางแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่รับรองแปลงปลูกนั้น  ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021-1 มาตรฐานข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจประเมินและรับรองระบบการจัดการ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการสากลและเกิดการยอมรับในระดับระหว่างประเทศ

๒) หน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสวนยางในการทำมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เนื่องจากผู้ปลูกไม้ ซึ่งโดยมากเป็นผู้ประกอบการรายย่อยขนาดเล็กมีพื้นฐานเป็นเกษตรกร และลักษณะเฉพาะของสวนยางพาราซึ่งเป็นการปลูกที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตน้ำยาง มิใช่เนื้อไม้นั้น การดำเนินการตามมาตรฐานอาจเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในการรับรอง ซึ่งหากไม่มีกลไกราคาที่เหมาะสมและการช่วยเหลือส่งเสริมแล้ว ผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งเป็นผู้ปลูกไม้อาจไม่สนใจขอการรับรองตามมาตรฐาน

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

การผลักดันให้มีการรับรองในสาขาการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน นั้น จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ได้แก่

  1. ผู้ประกอบการสามารถส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากไม้ไปขายยังประเทศต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการบริโภคสินค้าที่มีการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable resource)
  2. สนับสนุนให้มีการปลูกและใช้ไม้เพิ่มขึ้นในประเทศ และเพื่อการส่งออก ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกนอกจากการปลูกพืชเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งมักมีปัญหาราคาตกต่ำ และบุกรุกพื้นที่ป่า
  3. ลดการใช้ไม้จากแหล่งที่ผิดกฎหมาย ลดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ และเพิ่มพื้นที่ในการปลูกต้นไม้ตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซต์ที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อรายงานการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
  4. ส่งเสริมอาชีพการปลูกไม้ และสร้างวิชาชีพในสาขาการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

ปัญหาอุปสรรค

๑. ขาดการวางแผนงบประมาณในภาพรวม เนื่องจากเป็นงานที่ต้องบูรณาการหลายภาคส่วน ในช่วงแรกของการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ความเข้าใจในบทบาทของแต่ละหน่วยงานและกิจกรรมที่ต้องทำยังขาดความชัดเจนทำให้ไม่สามารถวางแผนในการของบประมาณล่วงหน้าได้ ทำให้ขาดงบประมาณในการดำเนินงานเนื่องจากการของบประมาณต้องดำเนินการล่วงหน้า 1-2 ปี

๒. ผู้ที่ต้องการให้มีการรับรองตามมาตรฐานเป็นผู้ประกอบการที่ส่งออก แต่ผู้ที่ต้องดำเนินการตามมาตรฐานนั้นเป็นผู้ปลูกไม้ ซึ่งโดยมากเป็นผู้ประกอบการรายย่อยขนาดเล็กมีพื้นฐานเป็นเกษตรกร การดำเนินการตามมาตรฐานอาจทำได้ยาก และยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายในการรับรอง ซึ่งหากไม่มีกลไกราคาที่เหมาะสมและการช่วยเหลือส่งเสริมแล้ว ผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งเป็นผู้ปลูกไม้อาจไม่สนใจขอการรับรองตามมาตรฐาน

๓. การตรวจประเมินต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในสาขาการจัดการป่าไม้ นอกจากนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่ใช้ในการรับรอง ข้อกำหนดสำหรับผู้ตรวจประเมิน หลักการและเทคนิคต่างๆ ในการตรวจประเมิน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างผู้ตรวจประเมินในสาขาดังกล่าว

ข้อเสนอแนะ

ควรมีแผนงบประมาณแบบบูรณาการเพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีงบประมาณในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกันหลายหน่วยงาน ทำงานแบบคู่ขนาน หากหน่วยงานใดไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ก็จะส่งผลต่อภาพรวมของกลไกในการรับรองทั้งหมด

การผลักดัน มอก.๙๙๙๙ เป็นมาตรฐานสากล

ตามที่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สมอ. ได้ประกาศกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม มาตรฐานเลขที่ มอก. 9999 เล่ม 1-2556 ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์2560 สมอ. ก็ได้ดำเนินการส่งเสริมเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2557-2560 ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ เพื่อให้สามารถจัดทำระบบมาตรฐานดังกล่าวได้ ซึ่งมีผู้ประกอบการได้เข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 40 ราย

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในด้านต่างๆ สมอ. ในฐานะสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization หรือ ISO) เห็นว่ามาตรฐาน ISO ที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะนำองค์กรภาคอุตสาหกรรมและภาคสังคมไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ คือ มีการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคง เติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การนำเสนอ มอก. 9999 เป็นมาตรฐาน ISO จะเป็นทางเลือกที่โลกกำลังมองหาเพื่อทดแทนแนวทางการพัฒนาในรูปแบบเดิมๆ สมอ. จึงได้จัดทำข้อเสนอ มอก. 9999 เล่ม 1-2556 ภายใต้ชื่อ Business Resilience Management นำเสนอให้คณะกรรมการวิชาการของ ISO คณะที่ 292 (ISO/TC 292 Security and resilience) พิจารณาดำเนินการกำหนดเป็นมาตรฐาน ISO ต่อไปแล้ว

 

Did you find apk for android? You can find new Free Android Games and apps.

COMMENTS